Berlin 2019: Lotte and the Lost Dragons | ครอบครัวคือพื้นฐานของการก้าวผ่านช่วงวัย
LOTTE AND THE LOST DRAGONS
(Heiki Ernits & Janno Poldma)
Berlin Film Festival 2019 : Generation
แอนิเมชั่นเรื่องเยี่ยมของเทศกาลหนังเบอร์ลินในปีนี้ที่เป็นแอนิเมชั่นซีรี่ส์ที่ทำต่อกันมาเป็นภาคที่สามแล้ว
นับตั้งแต่สิบสามปีก่อนกับ ‘Lotte from Gadgetville’ และแปดปีก่อนกับ ‘Lotte and the Moonstone
Secret’ ซึ่งเป็นภาคต่อที่ไม่ได้ต่อเนื่องกันเสียทีเดียว
ยังเป็นการแบ่งเรื่องราวเป็นตอนๆ
ซึ่งในเนื้อหาของแอนิเมชั่นชุดนี้ก็จะพูดถึงเด็กหญิงคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชื่อเดียวกับภาคแรก
ที่มักมีจุดเด่นในเรื่องของการสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆนาๆ
ซึ่งหนังเองเล่าเรื่องด้วยความเบาของการขับเน้นเรื่องราว พาร์ทของซีนอารมณ์ หรือความดราม่าของเหตุการณ์นั้นแทบมีให้เห็นน้อยมาก
จริงๆแล้วลักษณะของแอนิเมชั่นในลักษณะนี้นั้นเหมือนเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นสำหรับเด็กอนุบาล
เด็กประถมด้วยซ้ำ แต่ด้วยความคมคายของการหยิบยกประเด็นมาพูดถึงการเรียนรู้โลกของตัวละครนำในเรื่องมันทำให้หนังเรื่องนี้เปี่ยมล้นไปด้วยความรู้สึกของมนุษยนิยมอยู่ไม่น้อยทีเดียว
และมันทำให้ภาพของแอนิเมชั่นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนนั้นสามารถให้ความหมายที่ลึกซึ้งในโลกของผู้ใหญ่ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างมากสำหรับผลสัมฤทธิ์ที่แสนงดงามของการก้าวผ่านวัยของตัวละครตัวนี้
ในภาคนี้
หนังเล่าเรื่องราวในช่วงเริ่มต้นที่ตัวละครนำซึ่งเป็นหญิงสาว กำลังจะได้สมาชิกใหม่ของครอบครัว
ซึ่งขอท้าวความกับไปในสภาพของ ‘Gadgetville’ ก่อน
ซึ่งมันมีสภาพของการผสมผสานของสัตว์ต่างเผ่าพันธุ์ที่มีที่มาที่ไปจากที่ต่างกันและอพยพเข้ามาอยู่ด้วยกัน
ซึ่งที่ไปที่มาสาเหตุของสัตว์แต่ละกลุ่มมันก็ต่างกรรมต่างวาระกันไป
ซึ่งสิ่งนี้ที่หนังเองสร้างภาพความเป็นไปในพลวัตของหมู่บ้านแห่งนี้ก็สะท้อนภาพของสังคมพหุวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน
หลายสัญชาติ หลากความเชื่อ ดั่งเช่นสังคมในไทยเอง หรือหลายๆที่บนโลกใบนี้ แต่นี้ไม่ใช่หัวใจสำคัญมากนักของหนังภาคต่อเรื่องนี้
สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีความน่าสนใจ และให้มุมมองที่ต่างออกไปอยู่ที่การเริ่มต้นใหม่ของการมีสมาชิกใหม่ของครอบครัว
การเข้ามาของนักวิทยาศาสตร์ที่จะต้องค้นหาบทเพลงดั้งเดิมของเผ่าพันธุ์ต่างๆเพื่อเข้าประกวด
นำมาซึ่งเรื่องราวที่ย้อนกลับไปสำรวจรากเหง้าทั้งในเชิงสังคม และวัฒนธรรม
สิ่งที่ทำให้หนังออกมายอดเยี่ยมมากนั่นก็คือ การที่แม้มันย้อนกลับไปมองภาพของสังคม
และวัฒนธรรมผ่านการค้นหาเผ่าพันธุ์มังกรที่สาปสูญไปนั้น หนังเองไม่ลืมที่จะพาเรื่องราวของการสำรวจความหมายของครอบครัวสะท้อนเรื่องราวหลังจากที่มีสมาชิกใหม่ของครอบครัวเกิดขึ้นไปด้วยตลอดทาง
จะเห็นว่าในขณะที่หนังเรื่องนี้เล่าเรื่อง และตัวละครเองพยายามทำความเข้าใจโลกใบนี้
มันคือการพยายามทำความเข้าใจความเป็นไปของความสัมพันธ์ การเรียนรู้สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของสังคม
นั่นก็คือ ครอบครัวนั่นเอง
เรื่องราวของมังกรถูกวางสถานที่สำคัญอยู่สองประการด้วยกัน
จากสาส์นตั้งต้นของเรื่องราวที่พูดถึงการเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่สูญหาย
ทั้งในเชิงของเรื่องราวที่หนังเองสร้างขึ้น
และเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงบนโลกของความเป็นจริงนอกจากสิ่งที่เกิดขึ้นในหนัง
บริบทของความเป็นมังกรถูกให้ภาพที่ปรัมปราไม่เป็นจริง เป็นเพียงตำนาน และเรื่องราวที่อาจมีหรือไม่มีผู้พบเห็นก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
ความหมายที่หนังเองสร้างขึ้นที่เกี่ยวเนื่องกับภาพของมังกรตรงนี้มันสะท้อนภาพของการเป็นเผ่าพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด
ส่งผลต่อเนื่องถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ด้านบน ในที่นี้หนังเองอาจหมายถึงโดยทางตรง
หรือโดยทางอ้อมก็เป็นไปได้เช่นเดียว ในทางอ้อมนั้นหนังอาจหมายถึงความปรัมปราของมัน
ความเป็นเรื่องเล่าของมันที่ทำให้วัฒนธรรม
และสังคมนั้นยังสามารถเคลื่อนตัวต่อไปข้างหน้าได้ ในขณะเดียวกันนั้น
ข้อที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของสถานะของมังกรก็คือ การเป็นภาพสะท้อนของความหมายของครอบครัว
ซึ่งเป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้เองสร้างขึ้นมา และภาพของความสัมพันธ์เชิงความหมายที่หนังเรื่องนี้เองสร้างขึ้นมานั้น
มันก็เปรัยบเหมือนความสัมพันธ์ของครอบครัวเป็นสิ่งเก่าแก่
เป็นสิ่งพื้นฐานของทุกสรรพสิ่งที่พัฒนาต่อเนื่องกันออกมา
ซึ่งมันสอดรับกับประเด็นเรื่องราวที่หนังเองเริ่มต้นเอาไว้หลังจากที่ครอบครัวนี้ได้เรียนรู้การเกิดขึ้นของสมาชิกใหม่ในครอบครัว
การหยิบจับสิ่งพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทรงพลัง
และท่าทางการเล่าเรื่องที่เอื้อให้เนื้อหาสามารถขยายความไปได้ไกลมากขึ้น
ทำให้หนังเรื่องนี้สร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมทีเดียว
Lotte and the Lost Dragons เข้าฉายที่เทศกาลหนังเบอร์ลิน ครั้งที่ 69 ในสาย Generation
International Sales : RIJA FILMS
by Sutiwat Samartkit
(16/06/19)
Post a Comment