Cannes 2019: Mickey and the Bear | ปรักหักพังของความสัมพันธ์พ่อ และลูกสาวในวิถีอเมริกัน
MICKEY AND THE BEAR
(Annabelle Attanasio)
Cannes Film Festival 2019 : ACID | South by Southwest Film Festival 2019
ผู้กำกับชาวอเมริกัน
“Annabelle Attanasio” ที่ผันตัวมาจากการเป็นนักแสดงมากำกับหนังถือว่าประสบความสำเร็จพอตัวกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกที่หยิบจับประเด็นแบบหนังอมเริกันอินดี้
และเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์ South by Southwest เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ก่อนที่จะถูกรับเลือกไปฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์กับสายคู่ขนานของเทศกาลอย่าง ACID
ซึ่งหนังเรื่องนี้ตระเวนฉายมาหลายเทศกาลในอเมริกา
และดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะได้รับกระแสตอบรับในฐานะหนังอเมริกันที่ดีเรื่องหนึ่ง
จริงๆแล้วความท้าทายของหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปกว่าหนังอเมริกันที่ส่วนใหญ่ที่หยิบจับเอาความสัมพันธ์ในครอบครัวมาเล่า
คือมันเป็นลักษณะของประเด็นชั้นดีที่สามารถหยิบเอาคอนฟลิกมาเล่นในวัฒนธรรมของอเมริกัน
ซึ่งอาจหมายความรวมไปถึงความเป็นสากลได้ด้วย จริงๆหนังในลักษณะนี้สำหรับผู้กำกับหน้าใหม่ๆของวงการหนังฮอลีวู้ดที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่ทำหนังเรื่องแรกๆเป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยตามเทศกาลหนังสำคัญๆในอเมริกาอย่าง
Sundance, South by Southwest หรือ Telluride
รวมไปถึงเทศกาลประจำเมืองที่ใช้ชื่อเมืองสำคัญๆอื่นๆด้วย
ซึ่งถ้าพูดกันอย่างตามตรงประเด็นในหนังที่เห็นก็เป็นประเด็นที่คุ้นตากันอยู่แล้ว
เพียงแต่ในช่วงหลังเราจะเห็นผู้กำกับพยายามใส่กิมมิคบางอย่างเข้ามาเพื่อให้หนังตัวเองดูโดดเด่นไปจากหนังเรื่องอื่นๆ
อย่างในหนังเรื่องนี้ก็ใช้ความสัมพันธ์กับสัตว์อย่างหมีเข้ามาเล่าเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเธอกับพ่อของเธอ
ซึ่งก็ทำให้หนังมีความน่าสนใจมากขึ้นจริงๆจากการเป็นหนังความสัมพันธ์ครอบครัวทั่วๆไป
หนังเล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวลูกสาวกับพ่อในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการจบไฮสคูลแล้วเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตัวคนเป็นพ่อเป็นทหารเก่าที่ผ่านสงครามในอิรัก แน่นอนว่าในความคลิเช่ของตัวละครอเมริกันส่วนใหญ่มักจะตามมาด้วยประเด็นผลกระทบที่ตกกระทบทางจิตใจของตัวละครในเรื่อง
และในหนังยังมีอาการเสพติดฝิ่นด้วย
ในหนังวัยรุ่นส่วนใหญ่ก็จะมีการเข้ามาของประเด็นเรื่องความรักที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเลือกของความสมบูรณ์แบบที่เข้ามาท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยสมประกอบอยู่เดิม
แน่นอนว่าพอโอกาสเข้ามาถึงมันทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ
หรือจะเลือกอยู่กับคนเป็นพ่อเพื่อดูแลเขา
ความน่าสนใจของหนังอีกอย่างหนึ่งที่ขอพูดถึงนั่นก็คือ
ประเด็นในรายละเอียดของสถานการณ์ที่หนังเองเลือกที่จะใส่เข้ามาทำให้ตัวละครมีการตัดสินใจแต่ละครั้งที่น่าสนใจ
คือส่วนที่หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นมามันทำให้หนังเองมีความน่าสนใจในการสำรวจขีดจำกัดของตัวละคร
และความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับพ่อ
ซึ่งน่าสนใจที่รูปแบบความสัมพันธ์ตรงนี้มันยังดำเนินไปต่อได้แม้จะมีสิ่งเข้ามากระทบมากมาย
ในขณะที่เมื่อใดก็ตามที่เส้นแบ่ง
หรือขีดจำกัดตรงส่วนนี้พังทลายลงความสัมพันธ์ก็มีโอกาสที่ล่มสลายลงได้
ซึ่งหนังวางรายละเอียดตรงส่วนนี้ไว้ได้ค่อนข้างดี
และระมัดระวังในการทดสอบสถานการณ์กับขีดจำกัดของความสัมพันธ์อยู่ไม่น้อยทีเดียว
และทำให้หนังเต็มไปด้วยไดนามิกที่เข้าใจได้ง่าย
และมีความต่อเนื่องของความเป็นเหตุเป็นผล
Mickey and the Bear เข้าฉายที่เทศกาลหนังคานส์ ครั้งที่ 72 ในสาย ACID
International Sales : UTOPIA
by Sutiwat Samartkit
(30/06/19)
Post a Comment