Cannes 2019: Sick, Sick, Sick | โรแมนซ์ของความป่วยไข้
SICK, SICK, SICK
(Alice Furtado)
Cannes Film Festival 2019 : Director's Fortnight
ผลงานขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับบราซิลเลี่ยน
‘Alice Furtado’ ที่เคยผ่านผลงานการลำดับภาพจากหนังเรื่อง
‘The Human Surge’ ของผู้กำกับ ‘Eduardo
Williams’ มาแล้ว
งานของเธอเรื่องแรกนี้จึงเต็มไปด้วยความน่าสนใจในเรื่องของการลำดับภาพเล่าเรื่องราวอยู่ไม่น้อย
เพียงแต่ปัญหาสำคัญของหนังเรื่องนี้เองจะอยู่ที่การพัฒนาบทที่ยังไม่ค่อยต่อเนื่อง
และขาดความหนักแน่นอยู่พอสมควร
แต่ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใจมากนักที่หนังของเธอถูกเลือกเข้าฉายในสาย ‘Director’s
Fortnight’ ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติคานส์
เพราะผลงานขนาดสั้นก่อนหน้านี้ของเธอก็เป็นที่คุ้นตาดีจากสาย ‘Cannes Cinefondation’
อยู่แล้ว
ในหนังขนาดยาวเรื่องแรกของเธอว่าด้วยเรื่องในระดับความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคล มุมมองของอาการป่วยของตัวละคร
ซึ่งน่าสนใจตรงที่หนังเองแบ่งพาร์ทของอาการป่วยออกเป็นในช่วงต่างๆ
จากช่วงเริ่มต้นที่พูดถึงความลุ่มหลงในความรัก การสูญเสียความรัก และช่วงท้ายของการหมกมุ่นของตัวละครต่อความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า
อย่างไรก็ดีมันถูกเอาไปเปรียบเทียบกับอาการป่วยของคนที่เป็นฮีโมฟีเลีย
ซึ่งทำให้หนังเองพอจะมีความน่าสนใจมาก จากการเล่าเรื่องที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอยเท่าไรนัก
มองที่อาการป่วยของคนเป็นฮีโมฟีเลียก่อน
ความผิดปกติจากยีนกลายพันธุ์จนทำให้การผลิตโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในกระบวนการแข็งตัวของเลือดผิดเพี้ยนไป
ในกรณีที่เป็นมากอาจจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อทำให้การแข็งตัวของเลือดกลับมาเป็นปกติ
การเปรียบเทียบกับอาการป่วยในลักษณะนี้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดชัดเจน
และบริบทของสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นภายในเรื่องสร้างความต่อเนื่องของเหตุการณ์มาสอดรับกับอาการป่วยที่ตัวละครนำชายในเรื่องเป็น
ซึ่งมันน่าสนใจที่หนังเองโรคนี้มาสร้างความคู่ขนานกับอาการป่วยที่ตัวละครนำหญิงในเรื่องเองเป็นด้วยเช่นเดียวกัน
พัฒนาการ
และความเป็นไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวละครนำหญิงในเรื่องนี้แบ่งได้เป็นสามช่วงดังที่กล่าวไปแล้วนั้น
มันสะท้อนระดับของความรู้สึกที่เกิดขึ้นในฐานะความรักที่เป็นอาการป่วยในรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่ยากจะเยียวยา
มันทำระดับของความน่าสนใจในเชิงปัจเจกของความสัมพันธ์นั้นสร้างเงื่อนไขของเรื่องราวที่ขยับขยายออกไปได้อย่างไม่มีขอบเขต
สิ่งที่หนังเองผลักดันเรื่องราวออกไปจากภาวะของความหมกมุ่นของตัวละครที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของเรื่องและการเป็นเหมือนอาการป่วยของตัวละครพาตัวเองดิ่งลึกเข้าไปในอาการป่วยที่เปรียบเสมือนชั้นของอาการทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้สร้างเงื่อนไขที่น่าสนใจที่ทำให้เรื่องราวสามารถต่อยอดไปยังเรื่องของไสยศาสตร์
และพิธีกรรมความเชื่อที่ขยับขยายไปยังพื้นที่ที่เป็นเอกเทศจากความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
ซึ่งในหนังเองใช้พื้นที่ที่อยู่บนเกาะห่างไกล และพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผีดิบเองก็ดี
เรื่องทางไสยศาสตร์พิธีกรรมอื่นๆเองก็ดี ตรงส่วนนี้มันทำให้หนังมีเซ็ตอัพที่ย้อนไปนึกถึงหนังเรื่อง
‘Magic Magic’ ของ ‘Sebastian
Silva’ ไม่น้อย
พื้นที่ที่เอกเทศของหนังอาจยังขาดความเข้มข้นไปอยู่บ้าง ความแฟนตาซีที่หนังเองสร้างขึ้นเกิดขึ้นเพียงภาพสะท้อนในจิตใจของตัวละคร
แต่ยังไม่ได้เล่นกับพื้นที่มากมายเท่าไรนัก
สิ่งที่น่าสนใจมากๆที่ทำให้หนังเรื่องนี้เองยังคงประสบความสำเร็จอยู่เล็กน้อยนั้นก็คือ
การที่มันสามารถรักษามวลของประเด็นอาการป่วยที่เหมือนชื่อเรื่องที่สร้างไดนามิกอาการป่วยออกเป็นสามช่วงสามตอนได้ต่อเนื่องตลอดอย่าง ‘Sick, Sick, Sick’ นั้นเอง
แม้มันอาจจะไม่สมบูรณ์นักก็ตาม
Sick, Sick, Sick เข้าฉายที่เทศกาลหนังคานส์ ครั้งที่ 72 ในสาย Director's Fortnight
International Sales : ALPHA VIOLET
by Sutiwat Samartkit
(09/06/19)
Post a Comment