Sundance 2019: Leaving Neverland | ฝันร้ายแดนเนรมิต
LEAVING NEVERLAND
(Dan Reed)
Sundance Film Festival 2019 : Special Events
สารคดียอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังซันแดนซ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมในประเด็นอื้อฉาวของอดีตราชาเพลงป๊อบอย่าง “Michael
Jackson” ทำให้กลุ่มแฟนฮาร์ดคอร์ตัดสินใจฟ้องกับผู้กล่าวหาว่าทำให้นักร้องชื่อดังเสื่อมเสียชื่อเสียง
ความน่าสนใจของหนังสารคดีเรื่องนี้คือ
การที่มันไม่ได้มุ่งเน้นไปที่โฟกัสตัวบุคคลอย่างนักร้องชื่อดัง
แต่แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่หนังเรื่องนี้เองต้องการเล่าเรื่องอยู่ที่ชีวิตของผู้ที่กล่าวอ้างว่าเป็นเหยื่อต่อการล่วงละเมิดทางเพศ
ซึ่งหนังยิบยกซับเจ็คของหนังมาพูดสองตัวละคร
ซึ่งแม้ว่าในเชิงของการเหนี่ยวนำให้คนดูเชื่อในเชิงประจักษ์พยานนั้น
ดูจะมีน้ำหนักที่ไม่มากนัก
เอาเข้าจริงแล้วน้ำหนักในการจะเอาไปเป็นพยานในศาลที่มีแต่ตัวผู้เสียหาย
และพยานอื่นๆนั้นก็มีน้อยมาก ซึ่งมันก็คงเป็นดังกรณีในอดีตของเขาอย่างในปี 1993
หรือในกรณีหลังอย่างปี 2005 ที่ศาลเองตัดสินว่าไม่มีความผิดก็สะท้อนลูปของเหตุการณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้แทบจะเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน
แต่นั่นเองที่เป็นปัญหาอย่างเช่นในทุกๆกรณีที่ผ่านมาของการล่วงละเมิดทางเพศที่อ้างอิงถึงตัวของนักร้องที่ล่วงลับ
ซึ่งประเด็นในเชิงคดี
หรือในเรื่องราวที่ผ่านมุมมองของตัวดาราผู้มีอิทธิพลไม่ได้เป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับหนังเรื่องนี้
มันเป็นองค์ประกอบเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
และสิ่งที่หนังเรื่องนี้เลือกที่จะนำเสนอนั้นมันเป็นอะไรที่เรียกได้ว่าเข้าใกล้ตัวเรามากกว่า
ในลักษณะที่หนังเลือกนำเสนอมุมมองผ่านชีวิตความฝันของเด็กสองคนที่เกี่ยวข้องกับนักร้อง
ชีวิตส่วนตัว
และความเป็นครอบครัวที่พังทลายลงเพียงผลต่อเนื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่มีตัวเหยื่อรู้ในรายละเอียดเพียงเท่านั้น
สารคดีที่ยาวนานกว่าสี่ชั่วโมงเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศสองคน
คนหนึ่งมีครอบครัวเติบโตที่ออสเตรเลีย และอีกคนเติบโตที่อเมริกาเอง
หนังเริ่มเรื่องราวตั้งแต่ช่วงวัยเด็กของทั้งคู่ที่เริ่มเข้ามาข้องเกี่ยวกับดาราชื่อดัง
หนังเล่าเรื่องราววางโครงเรื่องตามสูตรของหนังจำพวกนี้ที่เกริ่นที่มาที่ไปของการที่ตัวละครได้เข้ามาจับพลัดจับพลูรู้จักนักร้องชื่อดัง
และทำไมถึงสามารถพัฒนาการของความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้
สิ่งที่น่าสนใจอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของนักร้องที่ล่วงลับ
หรือการสำรวจประเด็นคดีล่วงละเมิดทางเพศ
แต่หนังเรื่องนี้กำลังเล่าเรื่องชีวิตของคนธรรมดาคนหนึ่งที่ดันมีเส้นทางเดินใหญ่ที่ไปเกี่ยวข้องกับนักร้องชื่อดัง
ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตพวกเขา
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้มันมีความปุถุชนธรรมดาซ่อนอยู่ข้างในนั่นคือ
การที่หนังเรื่องนี้เลือกที่จะตัดสลับช่วงของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวจริงๆของทั้งสองคน
และนำเสนอว่าพวกเขาเผชิญ และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขาอย่างไรบ้าง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าหนังเองจะแบ่งเป็นสองส่วน และใช้เวลาพอสมควรที่จะพัฒนาเรื่องราวของทั้งคู่
แต่การวางสัดส่วนที่ดี และให้น้ำหนักในแต่ละช่วงที่มันค่อนข้างสอดรับกันได้ดี
กล่าวคือในขณะที่ความหนักของเส้นเรื่องตัวละครหนึ่งมีมาก
หนังเองก็สร้างสมดุลด้วยการลดทอนความหนักของอีกเส้นเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้การรับข้อมูลในช่วงเวลานั้นมีมากจนเกินไป
โดยเฉพาะช่วงที่หนังเองต้องการใส่รายละเอียดเพื่อพัฒนาเรื่องราวของตัวละคร
แต่ในขณะที่หนังเรื่องนี้เองต้องการแรงสนับสนุนเชิงอารมณ์
หนังเองก็เร่งอารมณ์ด้วยการหยิบเอาแรงกระตุ้นจากเส้นเรื่องในสองส่วนเข้ามาส่งเสริมกัน
ซึ่งทำให้การนำเสนอเรื่องราวสองเส้นเรื่องสลับกันไปมานั้นไม่ได้เป็นปัญหา
เพราะหนังเองไม่ได้ยึดติดกับสัดส่วนอย่างเป็นรูปธรรมแต่ยึดติดกับไดนามิกของเรื่องราวมากกว่า
จริงๆแล้วการวางน้ำหนักของประเด็นที่ถูกนำเสนอที่ถึงแม้จะเป็นประเด็นของการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
แต่หนังเองสามารถวางความเป็นกลางในการเล่าเรื่องราวได้ค่อนข้างดีเยี่ยมทีเดียว
ซึ่งทำให้พัฒนาการของเรื่องราวนั้นเดินไปอย่างเท่าเทียมกันในเชิงการนำเสนอข้อมูลเนื้อกาที่ส่งเข้ามาหาคนดู
และให้คนดูนั้นเป็นผู้ที่ตัดสินเอง แต่หนังเองก็ไม่ได้ทำตัวเป็นกลางจนเสียจืดชืด
แม้ว่าหนังเองจะไม่ได้สร้าง หรือบิดต่อเติมเชิงข้อมูลผ่านการเซ็ตฉาก
หรือการเลือกตัดต่อเรื่องราวเข้ามาบิดพริ้วความเป็นจริงของความรู้สึกมากนัก
แต่วิธีที่หนังเรื่องนี้เองเลือกใช้ในการเล่าเรื่องมันก็ชัดเจนตั้งแต่ต้นเรื่องอยู่แล้ว
หนังใช้ชื่อว่า “Leaving Neverland”
ซึ่งแน่นอนว่าหนังเองต้องการเปรียบเทียบกับความเป็นเทพนิยาย
เป็นดินแดนของมนต์ในช่วงต้นเรื่อง จะเห็นว่าหนังเองใช้ทั้งงานภาพ ผ่านลักษณะภาพ สี
ต่างๆที่เข้ามาเน้นสถานที่ “Neverland” ในหนังให้ดูเหมือนดิสนีย์แลนด์สำหรับเด็ก
และคอนทราสต์มันด้วยภาพเชิงสารคดีสัมภาษณ์เกี่ยวกับความโหดร้ายในชีวิตจริง
ซึ่งทำให้ภาพของหนังมีความรู้สึกมากยิ่งขึ้น
และดูจะเป็นวิธีการหลักที่หนังเรื่องนี้ใช้อยู่ตลอดเรื่อง จริงๆแล้วผู้กำกับอย่าง “Dan
Reed” เคยผ่านงานในเชิงประเด็นสังคมการเมืองมาค่อนข้างเยอะ
อย่างประเด็นใกล้เคียงกับหนังสารคดีเรื่องนี้อย่าง “The Paedophile Hunter”
เองก็ดี จึงน่าสนใจที่เขาเองสามารถสร้างพื้นที่ของการสำรวจบาดแผลของเหยื่อ
และความเป็นจริงที่ยังมีความเอียงกลางอยู่พอสมควร
ถือเป็นก้าวที่ประสบความสำเร็จในหนังของเขาอย่างมาก
Leaving Neverland เข้าฉายที่เทศกาลหนัง Sundance ครั้งที่ 35 ในสาย Special Events
International Sales : HBO DOCUMENTARY FILMS
by Sutiwat Samartkit
(07/07/19)
Post a Comment