Locarno 2019: Twelve Thousand | ความรักไม่ให้ผลิตผลในสังคมทุนนิยม
TWELVE THOUSAND
(Nadege Trebal)
Locarno Film Festival 2019 : Golden Leopard
หลังจากเคยมีผลงานสารคดีมาก่อนหน้านี้สองเรื่องอย่าง
“Bleu petrole” และ “Scrap
Yard” เมื่อราวหกถึงเจ็ดปีก่อน
นี่เป็นการขยับข้ามมาทำหนังฟิคชั่นเป็นครั้งแรก และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ซึ่งความชัดเจนของวิธีการนำเสนอในรูปแบบของความเป็นคอมเมดี้แฟนตาซีของหนังฝรั่งเศสถือว่ามีรูปแบบที่แข็งแรง
และเป็นหนังฝรั่งเศสคอมเมดี้ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของประเทศนี้ที่เรามักเห็นได้บ่อย
และอาจหาหนังที่ดีในช่วงหลังได้ไม่มากนัก จริงๆแล้วในฝรั่งเศสช่วงหลังๆมานี้คนที่ทำหนังหน้าใหม่ๆที่ทำหนังในรูปแบบผสมผสานความเป็นคอมเมดี้ที่มีกลิ่นไอเฉพาะตัวของฝรั่งเศสมีมามากขึ้นเรื่อยๆ
และถือว่ามีรูปแบบการทำงานที่น่าสนใจ
แม้ว่าในภาพใหญ่ของหนังนั้นมันจะไม่ได้แตกต่างกันชัดเจนมากนัก
แต่การหยิบเอาประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของความรักเข้ามาจับกับสภาพสังคมที่โหดร้ายนั้นก็มีอยู่ให้เห็นบ่อยครั้ง
โดยเฉพาะเทศกาลที่จัดในฝรั่งเศสเอง
และสายฉายสายรองคู่ขนานของเทศกาลอย่างคานส์เองอย่างปีที่แล้วหนังเรื่อง “The
Trouble With You” ของผู้กำกับ “Pierre
Salvadori” เป็นต้น
ซึ่งผลักความเป็นคอมเมดี้กึ่งแฟนตาซี
คือหนังเองก็ไม่ได้ออกแฟนตาซีไปเลยในเชิงหลุดโลก
แต่ลักษณะที่จำเพาะบางประการของหนังคาแร็คเตอร์ที่ผลักอากัปกิริยาของตัวละครที่ทำให้เกิดพื้นที่จำเพาะขึ้นในโลกในสถานที่ที่ถ่ายอย่างธรรมดาอย่างสัจนิยมทั่วไปให้เป็นพื้นที่ที่เคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการสร้างพฤติกรรมของตัวละครหาใช่การเซ็ตอัพอย่างจงใจของสถานการณ์
และเบื้องหลังของซีนนั้นทั้งหมดใหม่
ซึ่งทำให้การถ่ายทอดการสื่อสารของหนังเองมีภาพที่ถูกถ่ายทอดความสัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมา
และความหมายที่ต้องผ่านการวิเคราะห์วิพากษ์ประมวลผลอีกต่อหนึ่ง
หรืองานเชิงคอมเมดี้เสียดสีสังคมที่ยังไม่ต้องย้อนกลับไปไกลมากนักของผู้กำกับแถวหน้าอย่าง
“Bruno Dumont” เองก็ให้ภาพในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
เพียงแต่การควบคุมองค์รวมของเรื่องราวนั้นชัดเจน และเชี่ยวชาญแข็งแรงมากกว่า
จริงๆจะย้อนไปถึงความคลาสสิคของ “Jean-Jacques Beineix” ก็ได้เหมือนกัน
อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ชัดเจนแล้วว่าหนังในลักษณะนี้
รวมถึงหนังเรื่องนี้นั้นมีภาพของความเป็นคอมเมดี้ฝรั่งเศสที่เคลื่อนไปจากความสมจริง
และสอดแทรกภาพสะท้อนสังคมและการเมืองอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะการหยิบเอาเรื่องของความรัก และการตีค่าของเงินตราในระบบทุนนิยม
ย้อนไปเรื่องของการเข้ามาของระบบทุนนิยม
จะเห็นว่าการตีค่าในระบบการเงินของทุนนิยมนั้นให้ค่าของสิ่งที่ทำ
หรือการกระทำใดๆที่ประเมินค่าได้ออกมาเป็นตัวเลข
มีผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้อย่างชัดเจน ดังนั้นความหมายของคุณค่าของเพศหญิงในระบบทุนนิยม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นภรรยาเลี้ยงลูก
จึงกลายเป็นศูนย์ในคุณค่าของระบบทุนนิยมที่ไม่สามารถประเมินราคาของผลลัพธ์ออกมาได้อย่างชัดเจน
การประเมินราคาและคุณค่าจึงหันไปตกอยู่กับผู้ชาย
ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนโครงสร้างที่เชื่อในสังคมชายเป็นใหญ่ให้ยังคงอยู่
และโครงสร้างของเรื่อง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเพศหญิง
และชายในหนังเรื่องนี้ก็ให้ภาพออกมาในลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้ว
ความรักนั้นมีความหมายอะไรในโครงสร้างเศรษฐกิจ
และสังคมที่อิงอยู่กับระบบทุนนิยมอยู่บ้าง คำตอบอย่างตรงไปตรงมาเลยนั่นก็คือ มันไร้ความหมายอย่างแท้จริง
แล้วในระบบทุนนิยมที่มองคนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสายพานของเคริ่องจักรนั้นจะให้พื้นที่ของความรักดำรงค์อยู่ต่อไปได้อย่างไร
คำตอบก็คือ มันจะต้องเป็นสิ่งที่สร้างมูลค่า มีผลิตผลที่ชัดเจน
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในหนังเรื่องนี้จึงตีราคาความรักของตัวละครทั้งสองในเรื่องเป็นมูลค่าของเงินนั่นเอง
ไม่เพียงแต่ความรักระหว่างตัวละครนำของเรื่องเท่านั้น
มันยังตีราคาของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครตัวอื่นๆในเรื่องด้วย
การสร้างความสัมพันธ์นั้นต้องมีมูลค่า ไม่งั้นก็ไม่ควรดำรงอยู่
ซึ่งมันสร้างความสัมพันธ์ให้เห็นในระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบบตลาดเสรี
ซึ่งการเสียดสีเรื่องนี้ก็เจ็บแสบพอตัวทีเดียว
จะว่าไปแล้วความรักนั้นก็ดูเป็นความเลื่อนลอยในระบบทุนนิยมที่พยายามถูกให้ค่า
ซึ่งการให้ค่าเพื่อรักษาความสัมพันธ์นั้นได้อย่างยืนยาวนั้นต้องมีค่าบำรุงรักษาจากทั้งสองฝ่าย
ในสังคมทุนนิยมในหนังเรื่องนี้ผู้ชายหาคุณค่าได้ด้วยการใช้แรงงานเพื่อสร้างเงินออกมา
การเดินทางของผู้ชายในหนังเรื่องนี้เหมือนการล่องเรือออกไป
ในอดีตแล้วในเมืองที่ติดชายทะเล สามีจะแล่นเรือออกไปไกลๆเพื่อคว้าโชค
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะกลับมาหาภรรยา มันเหมือนโอดิสซีที่เดินทางไปไม่รู้จบ
แล้วคุณค่าในระบบทุนนิยมอะไรที่ผู้หญิงสามารถสร้างขึ้นมาได้
ในหนังเรื่องนี้ดูจะให้คำตอบว่าผลิตภัณฑ์อย่างเดียวที่ผู้หญิงสามารถสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดมูลค่าในการรักษาสัมพันธ์นั้นคือ
เซ็กซ์ นั่นเอง หนังทำให้เราเห็นตั้งแต่เริ่มเรื่องยันท้ายเรื่องว่าสิ่งนี้ของผู้หญิงมีความสำคัญยังไงในการรักษาความสัมพันธ์ตรงส่วนนี้เอาไว้
จริงๆแล้วไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ของตัวละครนี้เท่านั้น
แต่มันยังหมายถึงความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นในเรื่องด้วย
จะเห็นว่าแม้แต่สามีที่เดินทางไปแล้วไปเจอผู้หญิงคนอื่นยังมีประเด็นเรื่องของเซ็กซ์เข้ามาประเมินค่าราคาของความสัมพันธ์เลย
ดังนั้นจะว่าไปมันเป็นการเสียดสีภาพของเพศชาย
และหญิงในระบบสังคมทุนนิยมของฝรั่งเศสที่ต่างต้องดิ้นรนมีชีวิตกันเองมากกว่า
จริงๆแล้วประเด็นเรื่องการทำงานทางกายภาพของเพศชายเพื่อแลกเงิน และเซ็กซ์ของผู้หญิงมันสะท้อนภาพของการประเมินค่าทางวัตถุของสังคมทุนนิยมได้ในอีกทางหนึ่งด้วยซ้ำ
เพศชายถูกประเมินค่าจากเงินที่เขาหาได้
และเพศหญิงถูกประเมินค่าจะการปรนนิบัติทางเซ็กซ์
ภาพของตัวละครทั้งคู่ที่เต้นอย่างพลิ้วไหวเหมือนไร้น้ำหนักให้ความรู้สึกถึงพื้นที่เอกเทศที่ตัวละครต้องดิ้นรนกันเอง
มันเปี่ยมล้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ลอยละล่องของมนุษย์ที่เปราะบาง
และอ่อนไหวอย่างมาก
โครีโอกราฟการเคลื่อนไหวเหมือนเต้นรำของหนังเรื่องนี้สร้างความประทับใจมากทีเดียว
ถือเป็นหนังเล่าเรื่องเรื่องแรกที่ทำได้ดีทีเดียว
Twelve Thousand เข้าฉายที่สายประกวด Golden Leopard ที่เทศกาลหนังโลคาร์โน ครั้งที่ 72
International Sales : Shellac
by Sutiwat Samartkit
(31/08/2019)
(31/08/2019)
Post a Comment